
ก่อนอื่นต้องขอโทษทุกๆคน ติดภารกิจและไม่คิดว่าจะนานขนาดนี้คะ เนื่องจากกำหนดการแรกคือจบงาน in-cosmetics ที่ Spain แล้วก็จะกลับไทยได้เลย แต่มีงานต่อ เลย

ขอเริ่มเลยละกันนะคะ ไม่อยากเกริ่นนาน สรุปแบบสั้นๆเรื่อง Vitamin C serum คือดังนี้คะ
ประโยชน์ของ Vitamin C
1.whitening อันนี้สาวๆไทยชอบมาก ดิฉันก็ชอบ

2.Collagen Synthesis กระตุ้นให้ผิวสังเคราะห์คอลลาเจนมากขึ้น
3.Anti-oxidant ต้านอนุมูลอิสระ กะว่าให้เราสาวกันตลอดกาล

DIY Vitamin C serum มีข้อดีอย่างนี้คะ
-ค่าใช้จ่ายถูกมากกกกก เมื่อเทียบกับราคาที่ brand ต่างๆขายกัน

-ผสมง่ายถึงง่ายมาก ไม่เกิน 15นาทีเสร็จคะ
สาร Vitamin C แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ซึ่งทำให้การผสมแตกต่างกัน
1.กลุ่มกลัวน้ำคือ Vitamin C L-Ascorbic Acid (LAA) จุดเด่นคือ effective (ได้ผล/มีประสิทธิภาพ) ที่สุด เท่าที่ทราบปัจจุบันยังไม่มี Vitamin C ตัวไหน effective เท่ากับตัวนี้ สาเหตุคือ ผิวเราสามารถดูดซึมเข้าไปใช้เลยทันที ไม่ต้องไปแปลงอะไรต่อคะ เพราะโครงสร้างเป็นโครงสร้างธรรมชาติของ Vitamin C ร่างกายเรารู้จักดี
2.กลุ่มไม่กลัวน้ำ มีหลายตัว เนื่องจากหลายผู้ผลิตพยายามพัฒนะขึ้นมา โดยจุดประสงค์คือ stable แม้โดนน้ำ และ มีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับ LAA มากที่สุด เช่น MAP (Magnesium Ascorbyl Phosphate) , SAP (sodium ascorbyl phosphate), AA2G (ascorbic acid 2-Glucoside), Ethyl Ascorbic acid (3-O-Ethyl-L-ascorbic acid) เปรียบเทียบ 3ตัวนี้ AA2G ให้ประสิทธิภาพใกล้เคียง LAA มากที่สุด แต่ราคาก็แพงที่สุดด้วย
การผสม Vitamin C แบ่งตามกลุ่มของ Vitamin C ว่ากลัวน้ำหรือไม่
L-ascorbic acid LAA (กลัวน้ำ) ปัจจุบันมีวิธีการผสม 2 แบบ คือ ใช้ base อื่นที่ไม่ใช่น้ำแทน เช่น Silicone (เช่นของ Kiehl’s), Propylene/Butylene Glycol (เช่นของ Cellular Skin RX) หรือใช้สารที่ช่วยต้าน oxidation คือ ferulic acid/Vitamin E (เช่นของ Skinceuticals)
Magnesium Ascorbyl Phosphate MAP/ sodium ascorbyl phosphate SAP (ไม่กลัวน้ำ) ผสมในน้ำได้เลย ง่ายมาก ไม่ต้องปรับ pH ด้วย เนื่องจากเหมาะกับ pH ที่ 6-8 อยู่แล้ว และตัวมันเองก็มี pH ประมาณ 7.5-8 (นอกจากว่าเราต้องการเติมสารอื่นๆเข้าไปด้วยเพื่อบำรุงเพิ่มเติม ในกรณีนี้อาจจะปรับ pH ลงมาเล็กน้อยด้วยการเติม citric acid) คนจนละลาย ใช้ได้เลยคะ อาจจะเติมสารอื่นๆได้ด้วย เนื่องจาก actives ตัวอื่นๆส่วนใหญ่เหมาะกับสภาพ pH ประมาณ 7 (คือเป็นกลาง) ซึ่งอันนี้เป็นข้อดีของ MAP/SAP ในขณะที่ LAA จะต้องอยู่ในความเป็นกรด ทำให้ถ้าเกิดเราอยากเติม actives ตัวอื่นก็อาจจะหายากนิดนึง เนื่องจาก actives ตัวที่เติมนั้นต้องสามารถทนกรดได้ดี ไม่งั้นก็จะเสื่อมสภาพ
ascorbic acid 2-Glucoside AA2G (ไม่กลัวน้ำ) ผสมน้ำได้เลย แต่ต้องปรับ pH เนื่องจากตัวมันเองเป็นกรดมากพอสมควร แต่มันต้องการอยู่ใน pH ที่ 5-7 อันนี้เป็นปัญหาคะ ต้องมานั่งเติมด่างเข้าไป เพื่อให้ pH ตามที่ต้องการ อย่างไรก็ตาม จากผลการทดลอง(โดยทางผู้ผลิต AA2G เอง ซึ่งอาจทำให้ลดความน่าเชื่อถือลงบ้าง) AA2G มีประสิทธิภาพเทียบเท่า LAA โดยมากกว่า MAP/SAP
ความแตกต่างของ LAA ธรรมดา กับ Ultrafine คือ Ultrafine จะละลายน้ำได้ง่ายมากๆ และสามารถใช้กับ base อื่นได้ เช่น Silicone (ลองนึกดูว่า LAA มันไม่ละลายใน Silicone แต่ถ้าต้องการทำ Vitamin C LAA เป็น Silicone Gel จะทำยังไง? ก็ใช้ ultrafine ไงคะ แล้วคนซักพักนึง อนุภาพผงมันเล็กมากๆจนกระจายไปทั่วเนื้อ gel ได้) อย่างไรก็ตาม แบบธรรมดาก็ใช่ว่าจะละลายยากคะ ส่วนตัวถ้าผสมใช้เองก็จะเลือก ultrafine เพราะแพงกว่าไม่เท่าไหร่แต่ทำงานง่าย แต่ถ้าพูดถึงโรงงานผู้ผลิตเครื่องสำอางค์ทั่วโลก ใช้แบบธรรมดาตลอดคะ ไม่ว่าจะยี่ห้อแพงขนาดไหน ยกเว้นเป็น base Silicone อย่างที่บอก ถึงจะยอมใช้ ultrafine (ควบคุมต้นทุนกันสุดๆ เพราะจะเอาค่าใช้จ่ายมาทำโฆษณาแทน
